หากคุณต้องการเป็นผู้ขายออนไลน์ที่ประสบความสำเร็จ คุณจะต้องเตรียมความพร้อมของข้อมูลเพื่อรองรับระบบที่ดี
สำหรับการจัดการสินค้าคงคลังและสิ่งนี้ เริ่มต้นได้ด้วยการตั้งค่า SKU ที่ถูกต้องสำหรับผลิตภัณฑ์ของคุณ
SKU คืออะไรล่ะ?
SKU (Stock Keeping Unit) คือ หน่วยที่จำแนกประเภทสินค้าที่เป็นการช่วยแยกความแตกต่างของสินค้า เพื่อวัตถุประสงค์ในการติดตามสินค้าในคลังสินค้า ตัวอย่าง เช่น หากคุณขายเสื้อใน 3 ขนาดที่แตกต่างกัน (เล็ก, กลาง, ใหญ่) และ 3 สีที่แตกต่างกัน (แดง, เขียว, น้ำเงิน) ซึ่งแต่ละขนาดและสีจะมีการกำหนดรหัสและระบุ SKU เพื่อแยกสินค้าให้ละเอียดมากขึ้น และทุกผลิตภัณฑ์ต้องมี SKU ของตัวมันเอง
SKU ถูกสร้างและกำหนดโดยตัวคุณเอง (เจ้าของร้าน) เพื่อระบุและติดตามสินค้าในคลังสินค้า
SKU ไม่ใช่ตัวเลขหรือรหัสที่ได้มาจากผู้ผลิต ดังนั้นคุณจึงควรสร้าง SKU ในลักษณะที่มีความหมายและเข้าใจง่ายต่อคุณ
แล้วทำไม SKU ถึงสำคัญ?
SKU มีความสำคัญและมีประโยชน์มาก ในทั่วไปเราจะใช้รหัสSKUในการสื่อสาร อ้างอิง สำหรับการติดตามสินค้าในคลังสินค้าในทุกส่วนของธุรกิจของคุณ ขณะที่ชื่อหรือคำอธิบายผลิตภัณฑ์ของคุณอาจเปลี่ยนแปลงได้เล็กน้อยเมื่อมีช่องทางการขายที่แตกต่างกัน แต่ SKU จะยังคงไม่เปลี่ยนแปลง มันจะช่วยให้คุณระบุรายการสินค้าระหว่างร้านค้าได้อย่างง่ายดาย สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งเมื่อเป็นการจัดเรียงสินค้าคงคลังและทำรายงานการขาย
วิธีสร้าง SKU
ยังไม่มีมาตรฐานอุตสาหกรรมสำหรับรูปแบบการตั้งชื่อ SKU แต่มีแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด บางประการที่คุณควรปฏิบัติตาม ดังนี้
- ทำให้ไม่ซ้ำใคร (Make them unique) -> สร้าง SKU ที่ไม่ซ้ำกันสำหรับสินค้าคงคลังแต่ละรายการที่คุณขายและในกรณีสินค้าคุณไม่ได้ขายแล้วหรือยกเลิกการขายก็ห้ามใช้ SKU ซ้ำอีก
- ทำให้สั้น (Keep it short) -> SKU ควรมีความยาวระหว่าง 6-16 ตัวอักษรและไม่เกิน 30 ตัว เนื่องจากยิ่งยาวก็ยิ่งจะอ่านยากขึ้น!
- ห้ามใช้เลข 0 หรือตัว Oในการขึ้นต้น และหลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรที่อาจทำให้สับสนกับตัวเลข เช่น 1, I , และ L
- อย่าใช้ช่องว่างหรือเครื่องหมายทับ (/ หรือ \),“ &”,“%”,“?”, เครื่องหมายคำพูด, จุลภาคหรืออักขระพิเศษอื่น ๆ เพราะอาจทำให้ระบบซอฟต์แวร์สับสนได้ หลีกเลี่ยงอักษรไทยด้วยนะ!
- แนะนำให้ใช้ตัวเลข, ภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่และสามารถใช้ตัวคั่น เช่น ขีดกลาง(-) หรือจุด(.) ได้
- อย่าเริ่มต้น SKU ของคุณด้วยเลขศูนย์เนื่องจาก-> Excel และซอฟต์แวร์สเปรดชีตอื่น ๆ จะตัด 0 ออกและเพราะอาจทำให้ข้อมูลเกิดความผิดพลาดได้
ตัวอย่าง
การตั้ง SKU “ไม่มีสูตรที่ถูกต้องและตายตัว” แต่ก็มีสิ่งที่ไม่ควรนำมาใช้ในการตั้ง SKU
โดยทั่วไปจะมีส่วนแรกที่ใช้สำหรับการจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์และส่วนอื่น ๆ สำหรับค่าเฉพาะ เช่น วันที่
เรามาดูวิธีการที่พบว่ามีประโยชน์มากที่สุด ตัวอย่าง เช่น SKU สำหรับเสื้อยืดที่คุณขาย “ขนาดกลาง”และ “สีฟ้า” อาจเป็น TSR-454-BLU-M งั้นเรามาลงรายละเอียด SKU นี้กันเถอะ
ขั้นแรก กำหนดตัวอักษร 3 ตัวแรก เพื่อแสดงถึงแบรนด์ / ผู้ผลิต / หมวดหมู่ของผลิตภัณฑ์
ในตัวอย่างของเราด้านบนกำหนดให้ “TSR” ที่มาจาก T-Shirt เป็นเสื้อยืด แต่คุณสามารถใช้ตัวอักษรอื่นๆ เช่น “TS” หรือ “TST”ได้ ทำให้คุณทราบความหมายและสามารถระบุได้ง่ายในภายหลัง
หรือคุณอาจต้องการใช้เป็นแบรนด์เช่น “MAC” / “NKE” และเราจะใช้เครื่องหมายขีด (-) ตามหลังตัวอักษรเพื่อให้ง่ายต่อการดูและอ่าน
TSR-454
ต่อไปการใช้หมายเลขรูปแบบหรือหมายเลขรุ่นของผลิตภัณฑ์ ตัวอย่าง เช่น 454 ซึ่งเป็นตัวเลขที่กำหนดโดยแบรนด์หรือผู้ผลิต ตัวเลขนี้จะเหมือนกันในทุกรูปแบบ (สีหรือขนาด) ของผลิตภัณฑ์
แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่เพียงพอที่จะระบุสินค้าในคลังอย่างครบถ้วน
TSR-454-BLU
ต่อไปเราต้องเพิ่มชุดรหัส 2 หรือ 3 หลัก (ตัวอักษรหรือตัวเลข) ตัวอย่าง เช่น BLU ย่อมาจาก BLUE เพื่อระบุให้ SKU นี้ให้ข้อมูลชัดเจนและละเอียดมากขึ้น เช่น สีและขนาด
ในตัวอย่างของเรา เราใช้ BLU เพื่อแสดงว่านี่คือเสื้อยืดสีน้ำเงิน
TSR-454-BLU-M
สุดท้ายเราเพิ่ม M เป็นขนาดสำหรับ Medium ตอนนี้คุณได้สร้าง “SKU ที่มีรหัสเดียวต่อสินค้า 1 รายการ”
และสำหรับผลิตภัณฑ์นี้แล้ว ในกรณีผลิตภัณฑ์เดียวกันแต่มีขนาดต่างกัน
จะมี SKU เฉพาะของตัวเองที่ไม่เหมือนกัน ตามภาพตัวอย่างด้านล่าง
หมายเหตุ Size คือ ขนาด , Color คือ สี
คุณสามารถแก้ไขสิ่งนี้และเป็นสิ่งที่สะดวกและง่ายที่สุดสำหรับคุณในการบริหารจัดการคลังสินค้า
ถ้าตอนนี้ฉันได้รับคำสั่งซื้อ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มี SKU ที่ระบุ คือ TSR-454-BLU-M (เสื้อยืดรุ่น454สีฟ้าไซส์เอ็ม) คุณก็จะทราบได้ทันทีว่าจะจัดส่งสินค้าใด
เท่านี้คุณก็สามารถแยกและจำแนกสินค้าแต่ละตัวได้
และเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป คือ การพิมพ์ฉลากหรือสติกเกอร์ เพื่อติดลงในผลิตภัณฑ์ของคุณเพื่อ
ให้สามารถแบ่งกลุ่มและระบุได้อย่างง่ายดาย แม้กระทั่งการเพิ่มบาร์โค้ด เพื่อความสะดวกในการใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น